วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศทั้ง 2 ธุรกิจ

ฟูจิ เล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน
          ข้อเสนอแนะวิธีทำการตลาดระหว่างประเทศ
1. ควรศึกษาคู่แข่งทางการค้าและหาข้อได้เปรียบทางธุรกิจของตัวเองเพื่อนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด
2. ควรที่จะทำการสำรวจตลาดผู้บริโภคเพื่อหาหรือขยายตลาดกลุ่มเป้าหมายให้มากกว่าเดิม
3. ควรหาโปรโมชั่นต่างๆที่เหมาะสมกับประเทศนั้นๆมาเป็นตัวดึงดูดลูกค้า
4 .ควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนาสินค้า เช่น คิดค้นเมนูใหม่ๆเพิ่ม
เอ็มเค ฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ
          ข้อเสนอแนะวิธีทำการตลาดระหว่างประเทศ
1. ศึกษาข้อมูลการดำเนินชีวิตของคนในประเทศนั้นๆเพื่อที่จะได้นำมาใช้ในการปรับแต่งสินค้าและบริการเพื่อความเหมาะสม
2. ควรใช้สื่อต่างๆในการโฆษณาเพื่อที่จะได้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมาก
3. ควรมีการปรับปรุงและพฒนากลยุทธ์ในการดำเนินงานให้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้พัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม
4. ทำการสำรวจความสนใจในโปรโมชั่นของลูกค้าเพื่อที่จะได้มีการมาจัดทำในภายหลัง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมอินเดีย

ร้าน Royal India Restaurant

                                      การชิมอาหารในครั้งนี้มี  3 อย่าง
                                      1.  กุหลาบยาร์มูร์
                                      2.  ลาดู
                                      3.  จั่มจั๊ม



       กุหลาบยาร์มูร์ หรือกุหลาบจามูร์ รู้จักขนมนี้จากอาจารย์ เลยอยากลองทานดู แบบจำได้ฝังใจว่ามันหวานสุดยอดและเหม็นนมมากกกกกก เพราะว่าเอานมไปปั่นจนได้หัวนม แล้วไปทำต่อในน้ำเชื่อม
แต่วันนี้กินแล้สรู้สึกดีกว่าอันอื่น ไม่หวานเท่าไหร่ และไม่เหม็นนมมาก อร่อยดี อุๆๆ










ขายขนมลาดู ขนมบูชาพระพิฆคเณศ
ดับเิบิ้ลคลิ๊กเพื่อปิดหน้าต่างนี้ หรือ คลิ๊กที่ปุ่มปิดด้านบน






          ขายขายขนมลาดู ขนมบูชาพระพิฆคเณศ ซึ่งผู้ที่บูชาพระองค์ด้วยขนมลาดูนี้ ผู้นั้นจะได้รับการประทานพรให้สำเร็จตามที่ปราถนา เหมือนกับการที่เราถวายของสังเวยที่พระองค์โปรดปรานนั่นเอง
ขนมลาดู ของ Close2Flower เป็นขนมสูตรโบราณ ทำจากสูตรอินเดียที่ตกทอดกันมากว่าพันปี แต่รสชาติไม่ได้เป็นอินเดี๋ยจ๋า หากไปตั้งรวมกันกับขนมไทยแล้ว ทั้งรูป รส กลิ่น รับรองว่าแยกไม่ออกว่าเป็นขนมอินเดีย


 

          มันชื่อขนมจั่มจั๊ม





       มาพูดถึงรสชาดกันดีกว่า

       อันนี้เหมือนกินฟองน้ำที่ชุ่มไปด้วยน้ำเชื่อมเลย รสชาดไม่เหมือนทองหยอดอ่ะ แบบทองหยอดหวานคนละแบบ เวลากัดไปน้ำเชื่อมหวานเจี๊ยบพุ่งก ระฉูด แถมท้ายด้วยกลิ่นนม ด้วยเล็กน้อย อ้วนสุดยอด


 



วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOT ผลไม้ส่งออก

Strengths (จุดแข็ง)
     - ประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของผลไม้ไทย
     - แรงงานไทยมีความเชี่ยวชาญด้านพืชผักผลไม้ไทย
     - ประเทศไทยมีภูมิอากาศเหมาะสมกับการเพาะปลูกผลไม้ไทย
     - ผลิตสินค้าได้ตรงตรามความต้องการของตลาด

Weakness (จุดอ่อน)
     - ขาดความรับผิดชอบต่อคุณภาพสินค้าเช่น เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเร็วเกินไป เพราะเห็นแก่ราคาในต้นฤดู ทำให้  สินค้าด้อยคุณภาพ
     - ขาดเทคโนโลยีระดับที่พัฒนาแล้ว ทั้งในด้านการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ รวมไปถึงการขนส่งที่เหมาะสมทำให้ต้นทุนการผลิตสูง สินค้าเสียหายและคุณภาพไม่ได้ตามที่ตลาดต้องการ
     - การขายสินค้าแบบคละไม่คัดแยกตามคุณภาพ ทำให้สินค้าไม่ได้มาตรฐาน
     - เกษตรกรใช้สารเคมีหรือฉีดยาฆ่าแมลง ทำให้เกิดปัญหาสารตกค้าง

Opportunity (โอกาส)
     - EU กำหนดแนวทางใหม่ในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์
     - สหภาพยุโรปเน้นส่งเสริมสินค้าเกษตรคุณภาพสูง
     - ผลไม้ไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดยุโรป
     - ไทยได้ทำการพัฒนาระบบคุณภาพ ThaiGAP เพิ่มโอกาสในการส่งออกผักและผลไม้สดของไทยไปยังสหภาพยุโรป

Threats (อุปสรรค/วิกฤต)
     - ข้อจำกัดทางด้านธรรมชาติของผลไม้ เช่น ผลผลิตออกเป็นฤดูกาล
     - มาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี
     - ค่าขนส่งราคาสูงทำให้ผลไม้มีราคาแพง ประกอบกับกลุ่มผู้บริโภคตรงที่รู้จักผลไม้เป็นอย่างดี เป็นชาวต่างชาติ เช่น คาเอเชีย กำลังซื้อไม่สูงและยังเป็นคนกลุ่มเล็กมากเมื่อเทียบกับชาวต่างชาติในประเทศผู้นำเข้ายุโรปหลักๆทำให้การนำเข้าไม่ต่อเนื่องเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญ ตลาดจึงขยายตัวไม่มากนัก
     - ในช่วงที่ผลผลิตของประเทศในยุโรปออกมามาก เช่น ในช่วงเดือน เมษายน - มิถุนายน  ทำให้มีผลไม้ราคาถูกมากมายในตลาด จึงทำให้มีการนำเข้าน้อยลง

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความเกี่ยวกับการส่งออกสิ้นค้า

บทความส่งเสริมการเกษตร
เรื่อง
ผลไม้ไทย.....ศักยภาพการส่งออกของประเทศ

                ผลไม้เป็นสินค้าที่ประเทศไทย มีศักยภาพในการผลิตเพียงพอให้ผลผลิตตามฤดูกาลสลับกัน บางชนิดให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ปัจจุบันการเพาะปลูกมิได้มุ่งเพื่อบริโภคภายในประเทศเพียง-อย่างเดียว ยังมุ่งส่งออกตลาดต่างประเทศ โดยเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามปรับปรุงพันธุ์ และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐานของตลาดส่งออกมายิ่งขึ้น
                การส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์จากผลไม้โดยภาพรวมของปี 2543 มีการส่งออกรวมทั้งสิ้น 723,821.75 ตัน มูลค่า 14,699.64 ล้านบาท ลดลงจากปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 0.22 และมีมูลค่าลดลง ร้อยละ 17.10 ผลไม้สดมีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.10 และ 12.56 ตามลำดับ ผลไม้แช่แข็งมีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 42.58 และ 32.94 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกในรูปผลไม้กระป๋อง กลับมีปริมาณและมูลค่าลดลง โดยการส่งออกได้ลดลง คิดเป็นร้อยละ 9.53 และ 29.25 ตามลำดับ
                ในปี 2544 คาดว่าจะมีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการประมาณการณ์ว่า การผลิตผลไม้ในปี 2544 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.03 และรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐานการส่งออกและมีการควบคุมคุณภาพในขั้นตอนการผลิตตาม GAP ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพเพื่อการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด ลำไย และมะม่วง
                ทุเรียน เป็นไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มจะขยายการส่งออกได้อีกมาก จึงถูกกำหนดให้เป็นพืชที่จะต้องเร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการส่งออก แต่ที่ผ่านมา แม้ว่าชาวสวนทุเรียนจะพบกับปัญหาด้านการผลิตและการตลาดค่อนข้างมาก แต่ทุเรียนยังไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนที่ดีได้ ถ้าสามารถจัดการสวน วางแผนการผลิต และการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                นางวันทนา บัวทรัพย์ ผู้จัดการทุเรียน กลุ่มไม้ผล กองส่งเสริมพืชสวน เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตทุเรียนในปีนี้ว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนรวมทั้งสิ้น 847,000 ไร่ ( เป็นพืชที่ให้ผลแล้วถึง 627,500 ไร่ ) ผลผลิตรวมปีละ 900,000 ตัน แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี (45.57 %) ระยอง (15.02%) ชุมพร (11.90%) ตราด (5.4 %) นครศรีธรรมราช (4.01%) สุราษฎร์ธานี (2.96 %) ระนอง (2.91%) ยะลา (1.74 %) และอุตรดิตถ์ (1.48%)
                ทางด้านสถานการณ์การส่งออกนั้น ทุเรียนเป็นผลไม้ส่งออกที่สำคัญ มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับที่ 2 - 3 รองจากสับปะรดที่เป็นอันดับหนึ่ง และสลับกับลำไย ปริมาณการส่งออกทุเรียนในปี 2543 มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 112,281.7 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2,330.3 ล้านบาท ตลาดนำเข้าทุเรียน (ผลสด) ที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง (48.47%) ไต้หวัน (39.87%) จีน (2.95 %) อินโดนีเซีย (2.24 %) สหรัฐอเมริกา (1.44 %) และมาเลเซีย (1.23 %)
                จากสถานการณ์การออกดอกติดผลของทุเรียนในปีนี้ เนื่องจากธรรมชาติของทุเรียนส่วนใหญ่จะออกดอกติดผลและเก็บเกี่ยวในเวลาที่ใกล้เคียงกัน และมักจะเกิดปัญหาเรื่องตลาด และราคาตกต่ำในช่วงกลางฤดูอยู่เสมอ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการกระจายสินค้าเกษตรคุณภาพ ( ทุเรียน ) เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลผลิตทุเรียนของกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน ดังนี้
                        - สนับสนุนให้กลุ่มฯ มีการรับรองคุณภาพทุเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ส่งออก ผู้ค้าทุเรียน และผู้บริโภค โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดได้สนับสนุนให้สมาชิกกลุ่มฯ มีการติดสติกเกอร์ที่ขั้วผล เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพและยังระบุรายละเอียด ชื่อกลุ่มและรหัสของเกษตรกรเจ้าของสวนไว้บนสติกเกอร์
                        - ปัจจุบัน มีกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน รวมทั้งสิ้น 158 กลุ่ม สำหรับในเขตจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญ มีกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนอยู่รวมทั้งสิ้น 102 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มในจังหวัดจันทบุรี 60 กลุ่ม ระยอง 25 กลุ่ม และตราด 17 กลุ่ม ผลผลิตทุเรียนจาก 102 กลุ่มนี้ จะมีประมาณ 79,000 ตัน หรือ ประมาณร้อยละ 13 ของผลผลิตรวมทั้งหมด
                        - สนับสนุนให้มีการจำหน่ายทุเรียนของกลุ่มฯ ให้กับผู้ส่งออก ผู้ค้าและผู้บริโภคโดยตรง โดยกำหนดการจัดตั้งจุดจำหน่ายทุเรียนคุณภาพของสมาชิกกลุ่ม ฯ ในแหล่งผลิตภายใต้การดูแลของสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ซึ่งในกรณีนี้มีกลุ่ม ฯ จำนวนหนึ่ง ที่พร้อมจะรวบรวมและจัดการขั้นตอนหลังเก็บเกี่ยวจนกระทั่งบรรจุกล่องพร้อมส่งออกให้กับบริษัทส่งออกที่ต้องการ โดยดำเนินการในจุดต่างๆ ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด รวมทั้งสิ้น 17 จุด รวมผลผลิตประมาณ 10,000 ตัน
                นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้สมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพในจังระยอง จันทบุรี และตราด นำผลผลิตทุเรียนที่รับรองคุณภาพ ปริมาณไม่น้อยกว่า 1,600 ตัน ไปจำหน่ายในจังหวัดอื่นๆ นอกแหล่งผลิตเพื่อลดปัญหาการประดังของผลผลิตในช่วงกลางฤดูและหลีกเลี่ยงปัญหาราคาตกต่ำในช่วงที่ผลผลิตออกมาก
                มังคุด เป็นผลไม้ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในสายตาของชาวต่างประเทศ ทั้งในรูปลักษณะและรสชาติจากการทดสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ชนชาติใดก็ตามที่ได้ลองชิมรสชาติของมังคุดแล้ว จะต้องกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าชอบมาก จนมีผู้ขนานนามให้เป็นราชินีผลไม้
                ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมังคุดรวมทั้งสิ้น ประมาณ 301,924 ไร่ ( เป็นพื้นที่ให้ผลแล้ว 169,898 ไร่ ) ผลผลิตรวมประมาณปีละ 168,325.13 ตัน แหล่งผลิต ที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี นครศรีธรรมราช ชุมพร และตราด การส่งออกมังคุดแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ประเภทผลสดและมังคุดแช่แข็ง ซึ่งใน ปี 2543 ปริมาณการส่งออกมังคุดผลสดมีทั้งสิ้น 12,886.45 ตัน คิดเป็นมูลค่า 257.67 ล้านบาท ส่วนมังคุดแช่แข็ง มีปริมาณการส่งออกประมาณ 227.12 ตัน มูลค่า 25.81 ล้านบาท ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย และญี่ปุ่น
                คุณวิรัตน์ น้อมเจริญ เกษตรกรผู้ผลิตมังคุดส่งออก และดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด จังหวัดระยอง เล่าถึงการดำเนินงานของกลุ่มฯ ว่า “ ได้รวบรวมสมาชิกจัดตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินงานมาแล้ว 8 ปี ในการทำงานของกลุ่มได้นำระบบผู้จัดการเข้ามาใช้ โดยมีการทำธุรกิจในรูปแบบของการคัดมังคุดคุณภาพดีส่งออกต่างประเทศ และรับซื้อมังคุดนอกกลุ่มมาบริหารด้วย แต่จะแยกส่วนไม่ปะปนกัน ซึ่งในปีนี้ทางกลุ่ม ได้วางแผนการผลิตมังคุดว่าจะติดสติกเกอร์ และแพ็คใส่ถุงแบบถุงส้มจำหน่าย เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพมังคุดและทำให้ผลผลิตที่จำหน่ายออกไปนั้นมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ”
                ในปีนี้ คาดว่าผลผลิตมังคุดเริ่มออกสู่ตลาดประปรายในช่วงกลางเดือนเมษายน และผลผลิตจะออกมากในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม – ต้นเดือนมิถุนายน ผลผลิตจากจังหวัดจันทบุรี รวมประมาณ 59,300 ตัน คิดเป็นร้อยละ 77.9 จังหวัดตราด 9,869 ตัน คิดเป็นร้อยละ 12.9 และจังหวัดระยอง 7,000 ตัน หรือร้อยละ 9.2 รวมผลผลิตจากทั้ง 3 จังหวัดประมาณ 76,200 ตัน
                ลำไย เป็นผลไม้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยรวมประมาณ 600,000 ไร่ พื้นที่ปลูกมีการขยายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้สารคลอเรตบังคับให้ลำไยออกดอกมากขึ้น
                แหล่งปลูกลำไยที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน มีพื้นที่ปลูกรวมประมาณ 400,000 ไร่ รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ตาก และมีปลูกมากในจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตาก
                ผลผลิตลำไยในปีที่ผ่านมา (2543) เป็นปีที่สภาพอากาศเหมาะสมในการออกดอกติดผล ทำให้ผลผลิตลำไยมีมากถึง 350,000 ตัน ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
                ในปี 2543 ผลผลิตลำไยมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 5,050 ล้านบาท โดยส่งออกในรูปลำไยอบแห้ง มูลค่า 2,414 ล้านบาท ลำไยสดมูลค่า 2,040 ล้านบาท ลำไยกระป๋อง มูลค่า 476 ล้านบาท และลำไยแช่แข็งมูลค่า 119 ล้านบาท ตลาดส่งออกลำไย ( ผลสด ) ที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงค์โปร์
                นายวิษณุ อุทโยภาส ผู้จัดการลำไย กลุ่มไม้ผล กองส่งเสริมพืชสวน กล่าวถึง มาตรการช่วยเหลือด้านการตลาดลำไยในปีที่ผ่านมาว่า “ รัฐบาลได้อนุมัติเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 600 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และผู้ประกอบการยืมไปซื้อลำไยสดจากเกษตรกรนำไปแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งและลำไยกระป๋อง และยังได้อนุมัติเงิน คชก. อีกจำนวน 2,000 ล้านบาท ให้ ธกส. และ อตก. รับจำนำลำไยอบแห้งของเกษตรกร นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังได้จัดทำโครงการกระจายสินค้าเกษตรคุณภาพ (ลำไย) โดยดำเนินการกระจายผลผลิตลำไยจากจังหวัดแหล่งผลิต คือ เชียงใหม่ ลำพูน ในช่วงที่ผลผลิตออกมากระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ได้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศบริโภคลำไยเพิ่มมากขึ้น ”
                มะม่วงเป็นผลไม้เมืองร้อน ที่นับวันจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งออกผลไม้ของไทย เพราะนอกจากจะมีศักยภาพทั้งในการผลิตและการตลาดอยู่ในระดับที่สูงแล้ว แนวโน้มและลู่ทางในการขยายการส่งออกยังมีความเป็นไปได้มาก
                ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกมะม่วงประมาณ 2,151,478 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ปลูกไม้ผลทั้งหมด ซึ่งผลผลิตมะม่วงที่เก็บได้ในแต่ละปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ใช้บริโภคภายในประเทศทั้งในรูปผลสดและใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป
                แม้ว่าผลผลิตมะม่วงส่วนใหญ่จะบริโภคภายในประเทศมีเหลือส่งออกเพียงร้อยละ 10 ของปริมาณผลผลิตทั้งประเทศ แต่ในปัจจุบันปริมาณและมูลค่าการส่งออกมะม่วงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คือมีปริมาณการส่งออกในรูปผลสดมีประมาณ 10,500 ตัน คิดเป็นมูลค่า 160 ล้านบาท มะม่วงแปรรูปจำนวน 6,400 ตัน มูลค่า 212 ล้านบาท
                ตลาดส่งออกมะม่วงสดที่สำคัญอยู่ในแถบเอเซียซึ่งมีมูลค่าการส่งออกร้อยละ 95 ของการส่งออกทั้งหมด ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง และสิงค์โปร์ และตลาดใหม่ที่น่าจับตามอง นั่นคือ ตลาดประเทศญี่ปุ่นซึ่งประเทศไทยได้ส่งออกมะม่วงไปตลาดนี้เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งปัญหาที่สำคัญของการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นได้ไม่มากนั้น มี 2 ประการ คือ ประการแรก ผลผลิตมะม่วงเมื่อไปถึงปลายทางจะประสบปัญหาโรคแอนแทรกโนส ประการที่สอง วิธีการขนส่งได้ทางเครื่องบินเพียงอย่างเดียว ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้พยายามหาแนวทางแก้ไข โดยการพัฒนาขบวนการผลิตในส่วนของเกษตรกร โดยสนับสนุนผ่านศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ให้ความรู้ตั้งแต่เทคโนโลยีการจัดการผลผลิตเพื่อการส่งออก การดูแลรักษา การห่อผล วิธีการเก็บเกี่ยว การเตรียมการก่อนการขนส่งมายังโรงอบไอน้ำ VHT เพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ ที่สำคัญได้พัฒนาวิธีการขนส่งจากทางอากาศมาเป็นการขนส่งทางคอนเทนเนอร์ควบคุมบรรยากาศ ( CA Control ) ช่วยให้มะม่วงเมื่อถึงปลายทางยังคงคุณภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางเครื่องบินได้ประมาณ 40 % ซึ่งในปี 2544 กรมส่งเสริมการเกษตรมีเป้าหมายการส่งออกมะม่วงสุกถึง 1,000 ตัน ซึ่งมากกว่าทุกปีและเชื่อว่ามะม่วงน้ำดอกไม้ของไทย จะเป็นคู่แข่งที่สำคัญกับมะม่วงจากประเทศฟิลิปปินส์
                ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการส่งออกมะม่วงที่มักพบอยู่เสมอ ได้แก่ ปัญหาด้านคุณภาพผลผลิตมะม่วงไม่สม่ำเสมอ มีทั้งผลแก่และผลอ่อนปะปนอยู่ในกล่องบรรจุเดียวกัน ปัญหาต้นทุนการผลิตและการขนส่งอยู่ในระดับที่สูง ปัญหาผลผลิตที่ออก คือประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เป็นช่วงที่ผลไม้ชนิดอื่นออกมามาก ทำให้ราคาตกต่ำ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านการบรรจุหีบห่อไม่ได้มาตรฐาน คุณภาพต่ำ ทำให้เกิดการสูญเสียภายหลังการส่งออก
                นายมนู โป้สมบูรณ์ ผู้จัดการมะม่วง กลุ่มไม้ผล กองส่งเสริมพืชสวน ได้ให้รายละเอียดของการดำเนินการส่งเสริมการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกว่า “ ในปี 2544 นี้ ได้ดำเนินการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงคุณภาพการผลิตมะม่วง โดยคาดหวังให้มะม่วงไทยมีรูปลักษณ์คล้ายกับมะม่วงในต่างประเทศ คือ มีคุณภาพดี มีการติดสติกเกอร์ที่ผล เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพผลผลิตแต่ละผล ซึ่งการส่งเสริมส่วนใหญ่เน้นรูปแบบการสาธิตและจัดทำแปลงเรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบแก่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังดำเนินการจัดตั้งกลุ่มนำร่องพัฒนาการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก ในพื้นที่ 12 จังหวัด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงตามแบบเกษตรดีที่เหมาะสม ( GAP) และขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มอื่นๆ ต่อไป ”
                อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลไม้ไทยจะมีมูลค่าการส่งออกมาก เมื่อเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรม แต่มักประสบปัญหาในการผลิตและการส่งออกหลายประการ อาทิเช่น ปัญหาคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ปัญหาการแข่งขัน ปัญหาระเบียบสุขอนามัย ปัญหาการขนส่งที่มีค่าระวางสูงและไม่เพียงพอ ปัญหามาตรการกีดกันทางการค้า ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้พยายามหาทางแก้ไข โดยมีนโยบายในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต โดยการปรับโครงสร้างการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่เกษตรกร การควบคุมขั้นตอนการผลิตตาม GAP การรับรองคุณภาพผลผลิต ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้






               
    
    
    
    

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจของประเทศฮอลแลนด์

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 612.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

             GDP ต่อคน 31,700 ดอลลาร์สหรัฐ ประมาณการปี 2549 (
www.cia.gov)

             อัตราการว่างงาน ร้อยละ 5.5 ประมาณการ ปี 2549 (
www.cia.gov)

             มูลค่าการส่งออก 413.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประมาณการ ปี 2549 (
www.cia.gov)

ประเทศส่งออกที่สำคัญ เยอรมนี เบลเยียม สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา
           
             สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่งคมนาคม เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ

             มูลค่าการนำเข้า 373 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประมาณการ ปี 2549(
www.cia.gov)

ความแตกต่างของการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
     การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าแสละบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง   (ที่มาhttp://webboard.royalmarine.co.th/index.php?page=view&wb_id=6)


การตลาดระหว่างประเทศ                                                                                                                                                การตลาดระหว่างประเทศ  ประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก (http://www.ssru.ac.th/linkssru/Subject_New/3544103/soc22/topic1/linkfile/print5.htm)

 การค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศต่างกันตรงที่ การค้าระหว่างประเทศคือการนำสินค้าที่เป็นจุดเด่นของประเทศตนเองไปแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น การตลาดระประเทศเป็นการดำเนินการทางธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค